วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อยู่ต่อเลยได้ไหม

อยู่ต่อเลยได้ไหม | สิงโต นำโชค Cover 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=Ci0GXDx17aM

 

การ Upload web ขี้น server

การ Upload web ขี้น server
                ก่อนที่จะทำการ Upload เว็บนั้น เราจะต้องหาพื้นที่ที่จะทำการ Upload เว็บของเราขึ้น หากหน่วยงานไม่มี webserver ให้บริการ ก็จะต้องหา Host ที่ให้บริการ อาจะจะเช่า หรืออาจจะใช้พื้นที่ฟรีตามเว็บไซต์ทั่วไปเช่น www.geocities.com, www.thai.net, www.thaicity.com, เป็นต้น
                ในที่นี้จะใช้ webserver ของสถาบันเป็นตัวที่จะทำการ Upload เว็บที่ทำเสร็จแล้วขึ้นไป โดยใช้ใช้โปรแกรม CuteFTP Pro 3.0 เป็นตัว Upload ขึ้นไป
                ให้เข้าโปรแกรม CuteFTP ก่อน

โดยด้ายซ้ายมือจะเป็นข้อมูลที่จะทำการ Upload ด้านขวามือจะเป็น พื้นที่ที่อยู่บน webserver ให้คลิกที่ปุ่ม Connect ดังรูป


Host : ใหใสชื่อ Url ของ server หรืออาจะเป็น ip ของ server
Name : ใส่ชื่อ username
Password : ใส่ password
                แล้วก็คลิก Connect (Username or password หากเป็นเว็บฟรีที่สมัครให้ใส่ตัวนี้เข้าไปได้เลย) เมื่อ connect เสร็จแล้วก็จะแสดงรายชื่อไฟล์ที่มีอยู่ใน server



เมื่อจะทำการ Upload file ให้เลือกไฟล์ที่จะทำการ Upload ซึ่งจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ แล้วคลิกขวาที่ไฟล์ที่จะทำ upload แล้วคลิกคำว่า upload ไฟล์ที่ upload เสร็จเรียบร้อยก็จะมาอยู่ด้านขวามือของโปรแกรม
 ที่มา: http://www.sa.ac.th/multimedia/web/page17.htm

การสร้าง Template

การสร้าง Template
                Template ของโปรแกรม Dreamweaver ทำให้สามารถแบ่งรูปแบบของเอกสารนั้น ๆ ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่แก้ไขได้ (Editable Regions) และส่วนที่แก้ไขไม่ได้ (Non-Editable Regions) เอกสารที่สร้างจาก Template เดียวกนจะมีรูปแบบเหมือนกันหมด การสร้าง Template สามารถสร้างได้จากหน้าเอกสารว่าง ๆ หรือหน้าที่มีข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงหน้าเอกสารที่มีข้อมูล แบบไดนามิค เช่น ASP, ColdFusion, JSP หรือ PHP ก็ตาม

ขั้นตอนการสร้าง Template
1.        ออกแบบหน้าเว็บเพจตามต้องการ โดยจะกำหนดให้ส่วนหัวและส่วนเมนูเป็น Template
2.        คลิกเมนู File > Save as Template

                จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Dreamweaver ขึ้นมา
3.        คลิกปุ่ม Edit Sites… จะปรากฏหน้าต่าง Site Difinition ขึ้นมา
4.        พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการลงในช่อง What would you like to name your site?
5.        คลิกปุ่ม Next เพื่อผ่านไปยังขั้นตอนต่อไป



6.        คลิกเลือก No, I do not want to use a server technology. เนื่องจากเราจะสร้างเว็บไซต์โดยจะไม่ใช้งานอะไรเกี่ยวข้องกับ Server
7.        คลิกปุ่ม Next
8.        คลิกเลือกรายการแรก นั่นคือ Edit local copies on my machine, then upload to server when ready (recommended) เพื่อเลือกที่จะเก็บเว็บไซต์ที่สร้างไว้ในเครื่องของเราก่อน เมื่อพร้อมแล้วจึงจะอัพโหลดขึ้นไปยัง server
9.        กำหนดโฟลเดอร์สรหรับเก็บเว็บไซต์ที่จะสร้างขึ้น ในช่อง Where on your computer do you want to store your files?
10.     คลิกปุ่ม Next

                จากนั้นหน้าต่าง Choose Remote Root Folder จะปรากฏขึ้นมา ให้เลือกตำแหน่งที่ต้องการจะเก็บไฟล์
11.     คลิกวิธีการเชื่อมต่อกับ server ที่ช่อง How do you connect to your remote server? โดยในตัวอย่างรายการ Local/Network เนื่องจากเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านระบบเครือข่ายภายในองค์กร
12.     คลิกปุ่ม        เพื่อเลือกโฟลเดอร์ทางฝั่ง server ที่จะอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปเก็บไว้ในช่อง What folder on your server do you want to store your files in?
13.     คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่จะเก็บไฟล์


1.        คลิกปุ่ม Select

2.        คลิกเลือก No, do not enable check in and check out.
3.        คลิกปุ่ม Next
4.        คลิกปุ่ม Done

5.        คลิกปุ่ม Cancel เพื่อปิดหน้าต่าง Save As Template ที่ปรากฏขึ้นมาก่อน

การกำหนดส่วนแก้ไขและคงที่ของ Template
                จากนั้นเราจะมากำหนดส่วนที่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ของเท็มเพลตนี้ก่อน โดยในที่นี้จะกำหนดให้ส่วนที่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ก็คือ ส่วนที่เป็นรูปภาพและส่วนที่เป็นข้อความว่า Welcome
1.        คลิกรูปภาพที่ต้องการจะกำหนดให้สามารถแก้ไขได้
2.        คลิกรูปภาพ Insert > Template Objects > Editable Region หรือ Ctrl+Alt+V จะปรากฏหน้าต่าง New Editable Region ขึ้นมา
3.        พิมพ์ชื่อของส่วนที่ต้องการให้แก้ไขได้ที่ช่อง Name จากตัวอย่างพิมพ์ว่า EditPicture01
4.        คลิกปุ่ม OK

5.        สังเกตที่รูปภาพ จะมีข้อความว่า EditPicture01 แสดงอยู่
ถ้าต้องการกำหนดให้ส่วนที่เป็นข้อความว่า Welcome สามารถแก้ไขได้เหมือนรูปภาพก็ให้ทำตามขั้นตอนที่ 1-4 โดยตั้งชื่อใหม่ตามต้องการ ในที่นี้ตั้งชื่อเป็น EditText01 ก็จะได้หน้าเท็มเพลตที่เสร็จเรียบร้อยดังรูปด้านล่าง



การบันทึก Template
                ในกรณีที่ต้องการบันทึกหน้าเท็มเพลตที่สร้างขึ้น ให้ทำตามขั้นตอนดังแสดงต่อไปนี้
1.        คลิกเมนู File > Save As Template… เพื่อบันทึกหน้าเว็บเพจ จะปรากฏหน้าต่าง Save As Template ขึ้นมา
2.        กำหนดชื่อเท็มเพลตที่สร้างขึ้น ในช่อง Save As:
3.        คลิกปุ่ม Save

การเปิดหน้า Template
                หลังจากที่สร้างหน้าเท็มเพลตเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการเปิดหน้าเท็มเพลตนั้นขึ้นมาใช้งาน มีวิธีการเปิดดังต่อไปนี้
1.        คลิกเมนู File > New จะปรากฏหน้าต่าง New From Template ขึ้นมา
2.        คลิกแท็บ Templates
3.        คลิกเลือกไฟล์เท็มเพลตที่ต้องการ
4.        คลิกปุ่ม Create

จะปรากฏหน้าเท็มเพลตที่เลือกขึ้นมา โดยจะแสดงชื่อเท็มเพลตที่มุมบนด้านขวา โดยส่วนที่สามารถแก้ไขได้สัญลักษณ์ของเมาส์จะแสดงเป็นรูปเคอร์เซอร์ และส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้นั้นสัญลักษณ์เมาส์จะไม่แสดงเครื่องหมายเคอร์เซอร์ขึ้นมา ดังรูปด้านล่าง
 
ที่มา: http://www.sa.ac.th/multimedia/web/page17.htm