วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อยู่ต่อเลยได้ไหม

อยู่ต่อเลยได้ไหม | สิงโต นำโชค Cover 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=Ci0GXDx17aM

 

การ Upload web ขี้น server

การ Upload web ขี้น server
                ก่อนที่จะทำการ Upload เว็บนั้น เราจะต้องหาพื้นที่ที่จะทำการ Upload เว็บของเราขึ้น หากหน่วยงานไม่มี webserver ให้บริการ ก็จะต้องหา Host ที่ให้บริการ อาจะจะเช่า หรืออาจจะใช้พื้นที่ฟรีตามเว็บไซต์ทั่วไปเช่น www.geocities.com, www.thai.net, www.thaicity.com, เป็นต้น
                ในที่นี้จะใช้ webserver ของสถาบันเป็นตัวที่จะทำการ Upload เว็บที่ทำเสร็จแล้วขึ้นไป โดยใช้ใช้โปรแกรม CuteFTP Pro 3.0 เป็นตัว Upload ขึ้นไป
                ให้เข้าโปรแกรม CuteFTP ก่อน

โดยด้ายซ้ายมือจะเป็นข้อมูลที่จะทำการ Upload ด้านขวามือจะเป็น พื้นที่ที่อยู่บน webserver ให้คลิกที่ปุ่ม Connect ดังรูป


Host : ใหใสชื่อ Url ของ server หรืออาจะเป็น ip ของ server
Name : ใส่ชื่อ username
Password : ใส่ password
                แล้วก็คลิก Connect (Username or password หากเป็นเว็บฟรีที่สมัครให้ใส่ตัวนี้เข้าไปได้เลย) เมื่อ connect เสร็จแล้วก็จะแสดงรายชื่อไฟล์ที่มีอยู่ใน server



เมื่อจะทำการ Upload file ให้เลือกไฟล์ที่จะทำการ Upload ซึ่งจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ แล้วคลิกขวาที่ไฟล์ที่จะทำ upload แล้วคลิกคำว่า upload ไฟล์ที่ upload เสร็จเรียบร้อยก็จะมาอยู่ด้านขวามือของโปรแกรม
 ที่มา: http://www.sa.ac.th/multimedia/web/page17.htm

การสร้าง Template

การสร้าง Template
                Template ของโปรแกรม Dreamweaver ทำให้สามารถแบ่งรูปแบบของเอกสารนั้น ๆ ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่แก้ไขได้ (Editable Regions) และส่วนที่แก้ไขไม่ได้ (Non-Editable Regions) เอกสารที่สร้างจาก Template เดียวกนจะมีรูปแบบเหมือนกันหมด การสร้าง Template สามารถสร้างได้จากหน้าเอกสารว่าง ๆ หรือหน้าที่มีข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงหน้าเอกสารที่มีข้อมูล แบบไดนามิค เช่น ASP, ColdFusion, JSP หรือ PHP ก็ตาม

ขั้นตอนการสร้าง Template
1.        ออกแบบหน้าเว็บเพจตามต้องการ โดยจะกำหนดให้ส่วนหัวและส่วนเมนูเป็น Template
2.        คลิกเมนู File > Save as Template

                จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Dreamweaver ขึ้นมา
3.        คลิกปุ่ม Edit Sites… จะปรากฏหน้าต่าง Site Difinition ขึ้นมา
4.        พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการลงในช่อง What would you like to name your site?
5.        คลิกปุ่ม Next เพื่อผ่านไปยังขั้นตอนต่อไป



6.        คลิกเลือก No, I do not want to use a server technology. เนื่องจากเราจะสร้างเว็บไซต์โดยจะไม่ใช้งานอะไรเกี่ยวข้องกับ Server
7.        คลิกปุ่ม Next
8.        คลิกเลือกรายการแรก นั่นคือ Edit local copies on my machine, then upload to server when ready (recommended) เพื่อเลือกที่จะเก็บเว็บไซต์ที่สร้างไว้ในเครื่องของเราก่อน เมื่อพร้อมแล้วจึงจะอัพโหลดขึ้นไปยัง server
9.        กำหนดโฟลเดอร์สรหรับเก็บเว็บไซต์ที่จะสร้างขึ้น ในช่อง Where on your computer do you want to store your files?
10.     คลิกปุ่ม Next

                จากนั้นหน้าต่าง Choose Remote Root Folder จะปรากฏขึ้นมา ให้เลือกตำแหน่งที่ต้องการจะเก็บไฟล์
11.     คลิกวิธีการเชื่อมต่อกับ server ที่ช่อง How do you connect to your remote server? โดยในตัวอย่างรายการ Local/Network เนื่องจากเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านระบบเครือข่ายภายในองค์กร
12.     คลิกปุ่ม        เพื่อเลือกโฟลเดอร์ทางฝั่ง server ที่จะอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปเก็บไว้ในช่อง What folder on your server do you want to store your files in?
13.     คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่จะเก็บไฟล์


1.        คลิกปุ่ม Select

2.        คลิกเลือก No, do not enable check in and check out.
3.        คลิกปุ่ม Next
4.        คลิกปุ่ม Done

5.        คลิกปุ่ม Cancel เพื่อปิดหน้าต่าง Save As Template ที่ปรากฏขึ้นมาก่อน

การกำหนดส่วนแก้ไขและคงที่ของ Template
                จากนั้นเราจะมากำหนดส่วนที่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ของเท็มเพลตนี้ก่อน โดยในที่นี้จะกำหนดให้ส่วนที่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ก็คือ ส่วนที่เป็นรูปภาพและส่วนที่เป็นข้อความว่า Welcome
1.        คลิกรูปภาพที่ต้องการจะกำหนดให้สามารถแก้ไขได้
2.        คลิกรูปภาพ Insert > Template Objects > Editable Region หรือ Ctrl+Alt+V จะปรากฏหน้าต่าง New Editable Region ขึ้นมา
3.        พิมพ์ชื่อของส่วนที่ต้องการให้แก้ไขได้ที่ช่อง Name จากตัวอย่างพิมพ์ว่า EditPicture01
4.        คลิกปุ่ม OK

5.        สังเกตที่รูปภาพ จะมีข้อความว่า EditPicture01 แสดงอยู่
ถ้าต้องการกำหนดให้ส่วนที่เป็นข้อความว่า Welcome สามารถแก้ไขได้เหมือนรูปภาพก็ให้ทำตามขั้นตอนที่ 1-4 โดยตั้งชื่อใหม่ตามต้องการ ในที่นี้ตั้งชื่อเป็น EditText01 ก็จะได้หน้าเท็มเพลตที่เสร็จเรียบร้อยดังรูปด้านล่าง



การบันทึก Template
                ในกรณีที่ต้องการบันทึกหน้าเท็มเพลตที่สร้างขึ้น ให้ทำตามขั้นตอนดังแสดงต่อไปนี้
1.        คลิกเมนู File > Save As Template… เพื่อบันทึกหน้าเว็บเพจ จะปรากฏหน้าต่าง Save As Template ขึ้นมา
2.        กำหนดชื่อเท็มเพลตที่สร้างขึ้น ในช่อง Save As:
3.        คลิกปุ่ม Save

การเปิดหน้า Template
                หลังจากที่สร้างหน้าเท็มเพลตเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการเปิดหน้าเท็มเพลตนั้นขึ้นมาใช้งาน มีวิธีการเปิดดังต่อไปนี้
1.        คลิกเมนู File > New จะปรากฏหน้าต่าง New From Template ขึ้นมา
2.        คลิกแท็บ Templates
3.        คลิกเลือกไฟล์เท็มเพลตที่ต้องการ
4.        คลิกปุ่ม Create

จะปรากฏหน้าเท็มเพลตที่เลือกขึ้นมา โดยจะแสดงชื่อเท็มเพลตที่มุมบนด้านขวา โดยส่วนที่สามารถแก้ไขได้สัญลักษณ์ของเมาส์จะแสดงเป็นรูปเคอร์เซอร์ และส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้นั้นสัญลักษณ์เมาส์จะไม่แสดงเครื่องหมายเคอร์เซอร์ขึ้นมา ดังรูปด้านล่าง
 
ที่มา: http://www.sa.ac.th/multimedia/web/page17.htm

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การทำภาพถ่ายให้เป็นการ์ตูน


10 วิธีง่ายๆ ในการดูแล รักษา คอมพิวเตอร์ของคุณ

นก็ต้องคอยตรวจเช็คกัน จะมีวิธีการอย่างไรนั้นลองมาดูกันครับ

มาทำความเข้าใจในเรื่องของคอมพิวเตอร์กันก่อน

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันๆบางทีเราอาจเคยสงสัยว่า แต่ละส่วน หรือองค์ประกอบหลักของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จะขอแนะนำกันเล็กๆน้อยๆนะครับ สำหรับคอมพิวเตอร์เองจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software)

ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

สำหรับฮาร์ดแวร์คือ ส่วนที่เราสามารถจับต้องได้ทุกชิ้นครับไม่ว่าจะเป็น จอ, เคส, เมาส์, คีย์บอร์ด, หูฟัง, ซีพียู, เมนบอร์ด, อะไรที่สัมผัสได้เราก็เรียกว่าฮาร์ดแวร์ในส่วนของคอมพิวเตอร์ครับผม

ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software)
สำหรับซอฟต์แวร์คือ ส่วนที่เราใช้งานและควบคุมโดยการสังการจากฮาร์ดแวร์ครับ นั่นคือระบบปฏิบัติการ หรือที่เรารู้จักกันเช่น วินโดวส์(Windows) รวมถึงโปรแกรม แอพพลิเคชั่นต่างๆที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Office, Winamp, MSN เป็นต้น
ที่เราต้องรู้จักกับสองอย่างทั้ง ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์กันก่อนก็เพราะว่ามันมีความสัมพันธ์กันครับหากเราดูแลแค่อย่าง ใดอย่างนึงก็ไม่ดีครับ
เพราะสองอย่างนี้จะทำงานกันได้ต้องมาเป็นคู่ครับ ถ้าเรามีคอมพิวเตอร์แต่ไม่มีโปรแกรมก็เล่นไม่ได้ ว่ากันง่ายๆเลย ^^
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

มาว่ากันด้วยวิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ง่ายๆ 10 วิธีดังนี้

วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เช็ดทำความสะอาด
1.ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์บ้าง : วิธีการทำความสะอาด คอมพิวเตอร์นั้นไม่ยากอย่างที่เราคิดครับ แต่ก็ต้องทำให้ถูกหลักด้วยนะครับ เริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อน และทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆที่เป็นตัวเครื่องหรือกรอบหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด รวมถึงสายไฟคอมพิวเตอร์
2.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง : สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้แปลงทาสีที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างครับ เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้เป็นรอยได้ อย่าลืมใส่ผ้าปิดจมูกก่อนทำความสะอาดนะครับถ้าใครมีเครื่องเป่าฝุ่นหรือเป่า ลม สามารถเป่าเครื่องได้นะครับเพื่อไล่ฝุ่นออกจากคอมพิวเตอร์
3.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ : วิธี นี้อาจยุ่งยากหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่างครับ เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องไขน็อตที่ล็อกฝาข้างอยู่ ควรตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในครับว่ายังอยู่ในสภาพที่ ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่าเพราะความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอ
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ พัดลมระบายความร้อน
4.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก : สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ 1 ไม้บรรทัด ครับเพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิ สูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัด เข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ้คก็เช่นเดียวกันครับ ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ้คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วย เนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมตัวเล็กๆ หรือพัดลมตั้งพื้นเป่าจะแน่นอนสุดครับ เย็นทั้งคนและเครื่อง
5.เข้าศูนย์หรือร้านซ่อมคอมใกล้บ้าน : วิธีนี้สำหรับคนที่ไม่สะดวกในการจัดการคอมพิวเตอร์ก็ต้องฝากให้เป็นงานของ ช่างคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบกันว่าอุปกรณ์ต่างๆยังอยู่ในสภาพดีไหม ก่อนตรวจเช็คสอบถามราคาในการดำเนินการก่อนนะครับ ^^
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
6.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ : ไฟล์ต่างๆ ที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เพราะจะทำให้ไม่หนักเครื่องในส่วนของหน่วยความจำ จะได้พร้อมและมีทีว่างรับข้อมูลใหม่
7.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ : ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้เลยครับ เพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนักครับ
8.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจต้องใช้ เวลาหน่อยครับเพราะแน่นอนว่าสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานข้อมูลต่างๆรูป ภาพไฟล์เพลง งานต่างๆมากมายที่อยู่ในเครื่องมาจากหลากหลายที่ ทำให้มีไวรัสแฝงตัวอยู่ในโฟลเดอร์ต่างทั้งที่เราไม่รู้บ้าง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งใช้เวลาสแกนนานมากขึ้น ลองหาโปรแกรมสแกนไวรัสสักตัวอย่างเช่น nod32 เพื่อให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหาครับ
วิธีดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
9.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออกครับเช่น เดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรม ต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน
10.หมั่นหาวิธีหรือการใช้งานที่ถูกต้อง : จริงๆแล้ววิธีนี้ก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามพื้นฐานครับ เพราะถ้าเราไม่รู้หลักในการใช้งานแล้ว ตั้งแต่ข้อ 9 จนถึง 1 ที่กล่าวมาก็อาจทำให้เราละเลยในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์จากการใช้งานที่ไม่ ถูกต้องได้ ไม่ยากครับเพียงแค่เราคอยเอาใจใส่ทั้งตัวเราและคอมพิวเตอร์ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนครับเพราะถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพตัวเราก่อน เวลาที่เราจะดูแลคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลงครับ

อย่าลืมนะครับวิธีการดูแลคอมพิวเตอร์ไม่ยากอย่างที่เราคิดจริงๆ มีมากมายหลายวิธีแต่ที่เรียบเรียงให้นี้ เป็นวิธีหลักๆในการดูแลคอมพิวเตอร์ครับ



อ้างอิง

http://www.tososay.com